คำอธิบายรายวิชา
จอมบึงศึกษา รหัสวิชา ส ๒๑๒๐๑
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เวลาเรียน ๒๐ ชั่วโมง
จำนวน ๐.๕ หน่วยกิต
ศึกษาวิเคราะห์ลักษณะสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ อาณาเขต ที่ตั้ง ประชากร ทรัพยากรธรรมชาติของอำเภอจอมบึง และร่วมมือในการอนุรักษ์พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น วิเคราะห์อิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น ตลอดจนพัฒนาการทางด้านประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของอำเภอจอมบึงตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ขนบธรรมเนียมประเพณี สิ่งที่ดีงามในท้องถิ่น ตระหนักในคุณค่าความสำคัญผลงานของบุคคลสำคัญ ภูมิปัญญาในท้องถิ่น และสืบสานเผยแพร่ผลงานของภูมิปัญญาในท้องถิ่น วิเคราะห์อิทธิพลและแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของประชากร เสนอแนะแนวทางและให้ความร่วมมือในการพัฒนาดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยว สนับสนุนส่งเสริมผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคคลในท้องถิ่นให้ยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สืบค้นข้อมูล จดบันทึก การปลูกจิตสำนึก การคิดวิเคราะห์ การอภิปราย การเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถนำเสนอสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตสาธารณะในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผล
๑. ๑. บอกลักษณะสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ
ภูมิอากาศ อาณาเขต
ของจอมบึงได้
๒. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมมือในการอนุรักษ์พัฒนา
และใช้ทรัพยากรธรรมชาติใน ท้องถิ่นอย่างประหยัด คุ้มค่าก่อให้เกิดประโยชน์
สูงสุดต่อส่วนรวมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
และใช้ทรัพยากรธรรมชาติใน ท้องถิ่นอย่างประหยัด คุ้มค่าก่อให้เกิดประโยชน์
สูงสุดต่อส่วนรวมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๓.
วิเคราะห์อิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีต่อการดำรงชีวิต
ของประชาชนในท้องถิ่นได้
ของประชาชนในท้องถิ่นได้
๔. มีความรู้ความเข้าใจ
สามารถอธิบายประวัติศาสตร์และพัฒนาการความเป็นมา
ของอำเภอจอมบึงได้
ของอำเภอจอมบึงได้
๕. ตระหนักในคุณค่า เห็นความสำคัญในเรียนรู้สืบสาน ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
ขนบธรรมเนียมประเพณี สิ่งที่ดีงามในท้องถิ่น
๖. ตระหนักในคุณค่าและเห็นความสำคัญเรียนรู้ชีวประวัติผลงานของบุคคลสำคัญ
ภูมิปัญญาในท้องถิ่น และ เผยแพร่ผลงานของภูมิปัญญาในท้องถิ่น
๗. วิเคราะห์อิทธิพลและแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางสังคม
และวัฒนธรรม ที่มีต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น
๘. เสนอแนะแนวทางและความร่วมมือในการพัฒนา ดูแลรักษา แหล่งท่องเที่ยว
ผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคคลในท้องถิ่น
ให้ยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง